วัดอุโมงค์

อัพเดทล่าสุด 1 ม.ค. 2565 23:06:12 น. เข้าชม 359 ครั้ง

ราคา ไม่ระบุ

รายละเอียดประกาศ

วัดอุโมงค์ และสวนพุทธธรรม สองชื่อนี้เป็นชื่อที่ใช้เรียกสถานที่ส่งเสริมการปฏิบัติธรรม ของพุทธนิคม เชียงใหม่แห่งเดียวกัน แต่มีความหมายต่างกัน

วัดอุโมงค์(อุโมงค์เถรจันทร์) เป็นชื่อเรียกวัดเก่าที่ “พระเจ้ากือนาธรรมิกราช” ทรงสร้างอุโมงค์ขึ้นเพื่อถวายเพื่อให้พระมหาเถรจันทร์ ผู้เชี่ยวชาญในพระไตรปิฏกอาศัย

วัดอุโมงค์นี้หมายเอาเฉพาะบริเวณพื้นที่สามเหลี่ยมผืนผ้าซึ่งมีกำแพงอิฐปรากฏอยู่ทั้งสี่ด้าน ด้านตะวันออกจากขอบสระใหญ่ ด้านเหนือตรงไปทางทิศเหนือโรงพิมพ์ปัจจุบันจรด กำแพงอิฐพอดี ยาวประมาณ 100 วา ด้านเหนือจากแนวกำแพงเหนือโรงพิมพ์ปัจจุบันทางทิศตะวันตก จนถึงขอบสระหลังวัดอุโมงค์ ยาวประมาณ 100 วา, ด้านตะวันตกจากขอบ สระแนวกำแพงด้านเหนือ ถึงขอบสระใหญ่ใต้พระเจดีย์ ยาวประมาณ 100 วา, ด้านใต้จากขอบสระหลังพระเจดีย์ตรงไปทางตะวันตกออกจรดกำแพงทิศตะวันออกหน้าพระอุโบสถ ยาวประมาณ 100 วา มีพระอุโบสถขนาดย่อมตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ มีพระเจดีย์ใหญ่แบบลังกาวงศ์ และอุโมงค์(ถ้ำ) 1 อุโมงค์ มีทางเข้า 3 ทาง ตั้งอยู่ตลอดแนววัดด้านตะวันตก และมีศาลาตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือจากหน้าอุโมงค์ไปประมาณ 1 เส้น คิดเป็นเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 25 ไร่

สวนพุทธธรรม เป็นชื่อใหม่ที่ ภิกขุ ปัญญานันทะ ประธานวัดอุโมงค์ ในสมัยนั้น (2492-2509) ตั้งขึ้นเรียกสถานที่ป่าผืนใหญ่ที่ปกคลุมวัดร้างโบราณ ซึ่งมีทั้งหมดประมาณ 150 ไร่ ที่พุทธนิคมเชียงใหม่จัดขึ้นเป็นที่อยู่ของภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา ผู้แสวงหาความสงบ พื้นที่ซึ่งเรียกว่า สวนพุทธธรรมนี้กว้างมาก รวมเอาวัดไผ่11กอ (เวฬุกัฏฐาราม ซึ่งพระเจ้ามังรายมหาราชทรงสร้างไว้ถวายเป็นที่พำนักของพระมหากัสสปะเถระ ชาวลังกา ซึ่งเข้ามาเผยแพร่ศาสนาในสมัยนั้น) วัดอุโมงค์เถรจันทร์ และวัดอื่นๆ (ที่อยู่ใกล้วัดอุโมงค์ทั้ง 4 ด้าน) อีก 4 วัดเอาไว้ด้วยทั้งหมด

ประวัติวัดอุโมงค์(สวนพุทธธรรม) มีหลักฐานทางตำนานไม่สู้จะละเอียดนัก ต้องอาศัยหลักการทางโบราณคดี และประวัติศาสตร์เมืองเชียงใหม่เข้าช่วยจึงได้ความชัดขึ้น แต่ถึงกระนั้นก็ไม่สู้จะมั่นใจว่าประวัติที่นำมาเสนอท่านนี้จะถูกต้องร้อยเปอร์เซ็นต์ เพราะบริเวณที่ถูกเรียกว่า สวนพุทธธรรม นี้มีวัดอยู่หลายวัด สร้างเก่าบ้างใหม่บ้างสับสน ซับซ้อนยิ่งวัดเหล่านี้เป็นวัดกษัตริย์ราชวงศ์มังราย(นับจากพระเจ้ามังรายเป็นต้นมา) ทรงสร้างสืบๆ ต่อกันมาเป็นระยะเวลาเกือบ 700 ปีด้วยแล้ว ก็ยิ่งทำให้สันนิษฐานยากขึ้นไปอีก แต่ถึงแม้การศึกษายากเพียงไร หลักฐานที่ค้นได้ และนำมาประกอบการเขียนเรื่องนี้ ทำให้มั่นใจว่าจะทำให้ท่านเข้าใจประวัติวัดอุโมงค์ (สวนพุทธธรรม) ได้ใกล้เคียงความจริงมากที่สุด

ก่อนการศึกษาประวัติวัดอุโมงค์ (สวนพุทธธรรม) ความทราบธรรมเนียบการสร้างวัดของพระมหากษัตริย์ไทยสมัยโบราณไว้ด้วยว่า เมื่อทรงสร้างพระราชวัง และเมืองหลวงเสร็จแล้ว สิ่งสำคัญที่ต้องทำเป็นอันดับสองก็คือ วัดสำคัญประจำเมืองทั้งสี่ทิศ หรือสองทิศ(เหนือ ใต้) และวัดพิเศษภายในราชวัง สำหรับเป็นที่สักการะบูชาของพระมหากษัตริย์ และพระบรมวงศานุวงศ์อีก 1 วัดเสมอ ความจริงเรื่องนี้หาดูได้ตามเมืองหลวงของไทยสมัยโบราณ เช่นเชียงแสน, สุโขทัย, อยุธยา, ลพบุรี, นครศรีธรรมราช, ฯลฯ และกรุงเทพมหานคร อันเป็นเมืองหลวงปัจจุบันการที่พระมหากษัตริย์ไทยสมัยก่อน ถือว่าการสร้างวัดเป็นสิ่งสำคัญอันดับสองรองจากการสร้างวังนั้น แสดงให้เห็นชัดเจนว่า บรรพบุรุษของพวกเรามั่นคงในศีลธรรมมีน้ำใจสูงมาก เห้นความสำคัญของพระพุทธศาสนาแจ่มแจ้งยึดเอาพุทธศาสนาประจำชาติมาตั้งแต่ต้น จนกลายเป็นความรู้สึกฝังใจว่า ชาติไทยกับพุทธศาสนาแยกจากกันไม่ได้มาจนทุกวันนี้

ประวัติศาสตร์บอกไว้ว่า เมื่อ พระเจ้ามังรายมหาราช ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์มังราย ตกลงพระทัยที่จะสร้างเมืองใหม่ที่ป่าเลาคา (ต้นเลาคา และต้นหญ้าคา)ระหว่างแม่น้ำปิงกับดอยสุเทพแล้ว ได้แต่งตั้งราชบุรุษถือพระราชสาส์นไปทูลเชิญพระสหายร่วมน้ำสาบานทั้งสองคือ พระเจ้ารามคำแหงมหาราช เจ้าผู้ครองนครสุโขทัย และพระเจ้างำเมือง เจ้าผู้ครองนครพะเยา มาปรึกษาการสร้างเมืองที่ เวียงเหล็ก (ที่ตั้งวัดเชียงมั่นทุกวันนี้) หลังจากที่สามกษัตริย์ได้ตกลงกันว่า ควรสร้างราชธานีใหม่ กว้าง 800 วา ยาว 1000 วา เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ยาวจากตะวันออกไปสู่ทิศตะวันตกแล้วก็ทำพิธีฝังเสาหลักเมืองใน วันพฤหัสบดี เดือนแปดเหนือ (เดือนหกใต้) ปีวอก พ.ศ. 1839 ฝังหลักเมืองแล้วใช้พลเมือง 5 หมื่นคน ช่วยกันก่อสร้างพระราชเวศน์มณเฑียรสถาน อีก 4 หมื่นคนช่วยกันขุดคูเมือง และกำแพงเมือง ก่อสร้างอยู่เป็นเวลา 4 เดือนก็แล้วเสร็จหลังจากฉลองเมืองใหม่เป็นการใหญ่ 7 วัน 7 คืนแล้ว กษัตริย์ทั้งสามก็พร้อมใจกันตั้งนามเมืองใหม่ว่า”เมืองนพบุรี ศรีนครพิงค์ เชียงใหม่”

หลังจากสร้างราชธานีเรียบร้อยแล้ว พระเจ้ามังรายมหาราชได้ทรงสร้างวัดสำคัญฝ่ายคามวาสี (วัดสำหรับภิกษุที่ชอบอยู่ในเมือง เพื่อเรียนพุทธวจนะ) ประจำเมืองทั้ง 4 ทิศพร้อมทั้งวัดภายในพระราชวังด้วย และทรงสร้างวัดฝ่ายอรัญวาสี (วัดสำหรับภิกษุที่เรียนพุทธวัจนะแล้ว ออกไปหาความสงบในป่า บำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐาน) บริเวณชานพระนครขึ้นหลายวัด เช่น วัดเก้าถ้าน เป็นต้น

พระเจ้ามังรายมหาราช ทรงทำนุบำรุงพระศาสนา และพระภิกษุสามเณร ทั้งฝ่ายคามวาสี และอรัญวาสีด้วยปัจจัยสี่ ให้มีกำลังใจศึกษา และปฏิบัติพระธรรมวินัยตามความสามารถแห่งตนอย่างดียิ่งทั้งสองฝ่าย กาลต่อมาพระองค์ได้ทรงทราบว่า พระเจ้ารามคำแหงมหาราช พระสหายผู้ครองนครสุโขทัย ได้ส่งคนไปนิมนต์พระสงฆ์จากเมืองลังกา ที่มาอยู่เมืองนครศรีธรรมราช มาสั่งสอนพระพุทธศาสนา ทั้งฝ่ายปริยัติ และฝ่ายปฏิบัติแก่ชาวเมืองสุโขทัยปรากฏเกียรติคุณว่า พระสงฆ์ลังกาแตกฉานพระไตรปิฎกเคร่งครัดในพระธรรมวินัยยิ่งกว่าพระไทยที่มีอยู่เดิม เกิดศรัทธาเสื่อมใส ประสงค์จะได้พระลังกามาเป็นหลักพระพุทธศาสนาในเมืองเชียงใหม่บ้าง จึงได้ส่งเจ้าหน้าที่ขอพระสงฆ์ลังกา จากพระเจ้ารามคำแหงมหาราชมา 5 รูป เมื่อได้พระลังกา 5 รูป อันมีพระมหากัสสปะเถระ เป็นหัวหน้ามาสมพระประสงค์แล้ว เกิดลังเลพระทัยไม่ทราบว่าจะนำพระลังกา 5 รูปนี้ไปอยู่วัดไนดี จะนำไปอยู่กับพระไทยเดิมทั้งฝ่ายคามวาสีก้เกรงว่าพระลังกาจะไม่สบายใจเพราะระเบียบประเพณีในการประพฤติอาจจะไม่เหมือนกัน

ในที่สุดได้ตกลงพระทัยสร้างวัดฝ่ายอรัญวาสีเฉพาะพระลังกาขึ้นวัดหนึ่งต่างหากที่บริเวณป่าไผ่ 11 กอ (สถานที่ซึ่งเรียกว่าวัดอุโมงค์ สวนพระพุทธธรรมทุกวันนี้) การสร้างวัดไผ่ 11 กอครั้งนั้นพระองค์ประสงค์จะสร้างเป็นอนุสรณ์ในการนำพุทธศาสนาแบบลังกาวงศ์มาประดิษฐานในลานนาไทยเป็นครั้งแรก จึงขอให้พระมหากัสสปะเถระเป็นผู้วางแผนผังวัดให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัย และประเพณีอันดีงามของชาวพุทธจริงๆ เมื่อพระมหากัสสปะเถระวางแผนผังวัดออกเป็นเขตพุทธาวาส(สถานที่เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า เช่น พระเจดีย์ พระอุโบสถ) และสังฆาวาส (สถานที่เกี่ยวกับพระสงฆ์ เช่น สาลาแสดงธรรม กุฏิพระโรงฉัน) เรียบร้อยแล้วพระเจ้ามังรายมหาราชได้เป้นผู้อำนวยการสร้างวัดใหม่ตามแผนผังนั้น โดยยึดเอาแบบอย่างการสร้างวัดของเมืองลังกาเป็นแบบฉบับ แม้พระเจดีย์ใหญ่อันเป็นหลักชัยของวัด ก็สร้างทรวดทรงแบบพระเจดีย์ในเมืองลังกาทั้งหมด (พระเจดีย์ที่พระเจ้ามังรายสร้างอันเดียวกับพระเจดีย์ใหญ่ที่ปรากฏอยู่ในวัดอุโมงค์สวนพุทธธรรมทุกวันนี้ แต่ของเดิมย่อมกว่าที่ใหญ่ขึ้นยังไม่เก่านัก และมองเห็นลวดลายสวยงามชัดเจน เป็นพระเจ้ากือนาธรรมิกราชรัชกาลที่ 9 แงราชวงศ์มังรายทรงบูรณะขึ้นใหม่ด้วยการพอกปูนทับของเก่า พร้อมกับการสร้างอุโมงค์ให้พระมหาเถรจันทร์อยู่ระหว่าง พ.ศ. 1910-1930) สร้างวัดเสร็จเรียบร้อย และทำการฉลองแล้ว ทรงขนานนามว่า วัดเวฬุกัฏฐาราม (วัดไผ่ 11 กอ) จากนั้น ก็นิมนต์คณะสงฆ์จากลังกาเข้าอยู่จำพรรษาเพื่อบำเพ็ญสมณธรรม และเผยแผ่พระพุทธศาสนาต่อไป

หลังจากทรงสร้างวัดถวายคณะสงฆ์ลังกาวงศ์แล้วทรงสนพระทัยในการพระศาสนาเป็นอย่างยิ่ง ทรงโปรดให้ความอุปถัมภ์แก่พระสงฆ์ไทย และพระสงฆ์ลังกาด้วยปัจจัยสี่และหมั่นมาฟังธรรมเทศนาจากพระสงฆ์เสมอ การใดที่ทำให้พุทธศาสนาเจริญแล้ว จะทรงกระทำการนั้นทันที

นอกจากจะสนพระทัยพระพุทธศาสนาเป็นการส่วนพระองค์แล้ว ยังทรงแนะนำชักชวนพระบรมวงศานานุวงศ์และประชาชนให้สนใจศึกษาพระพุทธศาสนา โดยพากันมาวัดในวันพระเพื่อให้ทาน รักษาศีล ฟังธรรม เทศนาจากพระสงฆ์และเจริญภาวนาหาความสงบใจอีกด้วย

วัดที่พระองค์ พระบรมวงศานุวงศ์และประชาชนศรัทธาเลื่อมใส สนใจไปให้ทาน รักษาศีลฟังธรรมเทศนา และเจริญภาวนามากที่สุดในสมัยนั้น คือ วัดเวฬุกัฏฐาราม(วัดไผ่ 11 กอ) ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะพระลังกาที่มาจำพรรษาอยู่มีความรู้ในธรรมวินัยดี มีความสามารถในการแสดงธรรมมาก มีความประพฤติเรียบร้อย และเคร่งครัดในระเบียบวินัยมากกว่าพระอื่นๆ ความดีงามของพระลังกาในครั้งนั้นเป้นเหตุให้กุลบุตรสมัครเข้ามาบรรพชาอุปสมบทเป็นภิกษุสามเณรมากมาย ยิ่งนับวันเกียรติคุณของพระลังกาวงศ์ขจรขจายไปทั่วทิศ เป็นเหตุให้พระพุทธศาสนาแบบลังกาวงศ์เจริญรุ่งเรืองอย่างรวดเร็ว และตั้งหลักได้มั่นคงในลานนาไทยเป็นครั้งแรกในสมัยของพระองค์

หลังจากพระเจ้ามังรายมการาชทรงสวรรคต เพราะถูกฟ้าผ่า ที่สี่แยกเมืองเชียงใหม่ เมือพระชนมายุได้ 80 พรรษา (พ.ศ. 1860) แล้ว กิจการพระศาสนาก็เริ่มเสื่อมลงทันที เพราะพระมหากษัตริย์ซึ่งเป็นรัชทายาทครองเมืองเชียงใหม่สมัยต่อมา เช่น พระเจ้าชัยสงคราม (พ.ศ. 1860-1861) พระเจ้าแสนกู่ (พ.ศ.1865-1871) พระเจ้าคำฟู (พ.ศ.1871-1877) ไปประทับอยู่เมืองเชียงราย และเชียงแสนเสียหมดคงตั้งพระโอรสที่เป็นรัชทายาทครองเมืองเชียงใหม่ในฐานะมหาอุปราชเท่านั้นประการหนึ่ง และเพราะมัวแต่รบพุ่งพุ่งชิงชัยแย่งราชบัลลังก์ระหว่างเจ้าพี่ เจ้าน้อง เจ้าลุง เจ้าอา อีกประการหนึ่ง

ครั้นถึงสมัยนั้น พระเจ้าผายู (ประสูติที่เชียงใหม่ เป็นมหาอุปราชแล้วประทับอยู่เชียงใหม่ตลอดเวลา) เป็นกษัตริย์ครองเมืองเชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ. 1877 การพระศาสนาจึงค่อยกลับเจริญขึ้นอีกครั้งหนึ่ง เพราะพระมหากษัตริย์พระองค์นี้ทรงตั้งอยู่ในทศพิธราชธรรมสัมมาปฏิบัติ ยึดหลักพุทธศาสนาเป็นเครื่องมือในการปกครองประเทศ งานศาสนาชิ้นแรกที่ทรงทำคือ โปรดให้ราชบัณฑิตไปอาราธนาพระมหาอภัยจุฬาเถระ กับพระสงฆ์ 10 รูปจากเมืองหริภุญชัย (ลำพูน) มาเป็นสังฆราชครองวัดลีเชียงพระ (วัดพระสิงห์) ซึ่งทรงสร้างขึ้น การที่พระเจ้าผายูต้องแต่งตั้งพระมหาเถระในจังหวัดลำพูนเป็นพระสงฆ์ในลานนาไทยไม่ได้แต่งตั้งพระมหาเถระในเชียงใหม่นัน แสดงว่าพุทธศาสนาและคณะสงฆ์ในเชียงใหม่ซึ่งเคยเจริญรุ่งเรืองอย่างมากทั้งสยามวงศ์และลังกาวงศ์ เมื่อ 40 ปีก่อนโน้น เสื่อมลงอย่างน่าใจหาย พระเจ้าผายูทำนุบำรุงประเทศชาติและพระพุทธศาสนาได้ประมาณ 33 ปี ก็สวรรคตในปี พ.ศ. 1910

หลังจากพระเจ้าผายูสวรรคตแล้ว เสนามาตย์ทั้งหลายได้ไปอันเชิญ เจ้าท้าวกือนา จากเมืองเชียงแสน (ที่ต้องไปอยู่เมืองเชียงแสน เพราะพระราชบิดาให้ไปครองเมืองตามธรรมเนียมรัชทายาท) มาราชาภิเษกเป็นกษัตริย์องค์ที่ 9 (ของราชวงศ์มังราย) ครองเมืองเชียงใหม่ต่อไปตามประเพณีในปี พ.ศ. 1910 (เสวยราชย์เมื่อพระชนม์มายุได้ 40 พรรษา) เนื่องจากพระเจ้านากือนาทรงใฝ่พระทัยในการศึกษาวิชาการต่างๆ ทั้งทางโลกและทางธรรมตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ประการหนึ่ง ทรงฝึกหัดวิชาการรบต่างๆ ไว้อย่างชำชิชำนาญประการหนึ่ง ทรงเชี่ยวชาญในการปกครองบ้านเมืองสมัยครองเมืองเชียงแสนประการหนึ่ง ทรงมีน้ำพระทัยตั้งอยู่ในทศพิธราชธรรมเหมือนพระราชบิดาประการหนึ่ง ทรงสนพระทัยในเรื่องพระพุทธศาสนา ตามพระราชบิดาเป็นอย่างมากประการหนึ่ง และทรงมีพระชนม์มายุในขั้นเป็นผู้ใหญ่เต็มตัวที่ประการหนึ่ง เมื่อเสวยราชย์แล้วจึงทำนุบำรุงบ้านเมืองและพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองได้อย่างรวดเร็ว

ระยะเวลา 21 ปี (1910-1931) ที่พระเจ้ากือนาธรรมิกราช ครองราชสมบัติ ได้ทรงจัดการปกครองบ้านเมืองอย่างดีเยี่ยมข้าราชการผู้ใหญ่และประชาชนเคารพรักและนับถือพระองค์มาก เจ้าเมืองอื่นไม่กล้ายกกองทัพมารุกรานเพราะรู้ดีว่าพระองค์เป็นนักรบที่เก่งกล้า เมื่อบ้านเมืองปรกติสุขความยุ่งยากไม่มีเช่นนี้ พระองค์ก็ใช้เวลาส่วนมากทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง จนปรากฏว่าพระพุทธศาสนาในวานนาไทยเจริญรุ่งเรืองที่สุดในยุคของพระองค์

งานศาสนาชิ้นแรกที่ทรงทำเมื่อเสวยราชย์ คือ ส่งราชบัรฑิตไปอาราธนาพระมหาสวามีอุทุมพรบุบผา พระมหาเถระชาวรามัญ เชื้อสายลังกาวงศ์ ผู้แตกฉานพระธรรมวินัยที่เมืองเมาะตะมะ (ที่ทรงเจาะจงเลือกพระชาวลังกาวงศ์คงจะเป้นเพราะทรงทราบประวัติความดีงามของพระลัง ที่พระเจ้ามังรายนำมาประดิษฐานพุทธศาสนาในลานนาไทย ระหว่าง พ.ศ. 1839-1860 เป็นแน่) แต่พระมหาสวามีเจ้าไม่ยอมคงมอบศิษย์ 10 รูป มี พระอานนท์ (พระอานนทเถระ) เป็นประธานมาแทน เมื่อพระรามัญเชื้อสายลังกาวงศ์มาถึงแล้วได้ทรงอาราธนาพักที่ วัดโลก (ปัจจุบันเป็นที่ทำการสัตวแพทย์เชียงใหม่) แล้วขอให้ทำพินัยกรรมสมมติสีมาและอุปสมบทกุลบุตร พระรามัญทั้ง 10 รูปไม่อาจปฏิบัติ เพราะการบรรพ๙าอุปสมบทกุลบุตรในประเทศไทยแบบลังกาวงศ์นั้นพระมหาสวามีอุทุมพรบุปผา มอบอำนาจให้พระมหาสุมูนเถระและพระอโนมทัสสีเถระ เป็นผู้กระทำเพียงสองรูปเท่านั้น (พระเถระสุโขทัยสองรูปนี้ ไปเรียนพระไตรปิฎกที่อยุธยาก่อนแล้วกลับไปเรียนต่อที่เมาะตะมะกับมหาสวามีอุทุมพรบุปผาเป็นเวลา 4 ปี จากนั้น ได้กลับมาที่สุโขทัย นำพระที่ฉลาดอีก 10 รูปกลับไปสวดญัติเป็นภิกษุแบบลังกาวงศ์แล้วพระมหาสวามีอุทุมพรบุปผา ได้มอบอำนาจให้พระมาเถระทั้งสองเป้นหัวหน้านำลัทธิลังกาวงศ์มาเผยแผ่ในเมืองไทย)

เมื่อ พระเจ้ากือนาธรรมิกราช ทรงทราบเช่นนั้นแล้วได้ตั้งให้ หมื่นเงินกอง 1 ปะขาวยอด 1 ปะขาวสาย 1 รวม 3 นาย เชิญราชสาส์นและเครื่องบรรณาการการไปถวาย พระมหาธรรมราชาไท กษัตริย์องค์ที่ 5 แห่งราชวงศ์สุโขทัย (ครองราชย์ ระหว่าง พ.ศ. 1890-1919) เพื่ออาราธนาพระมหาสุมนเถระ วัดอัมพวัน (ภายหลังเรียกว่าวัดป่าแก้ว) ไปสืบศาสนาในนครพิงค์ เชียงใหม่ พระมหาธรรมราชาลิไท ทราบแล้วได้ทรงอนุญาตให้พระมาสุมนเถระ ไปสืบสาสนาที่พระนครพิงค์เชียงใหม่ด้วยความยินดี ขณะที่พระมหาสุมนเถระเดินทางจากสุโขทัยมาเชียงใหม่นั้น พระเจ้ากือนาธรรมิกราชได้เสด็จไปคอยรับที่ วัดพระยืน จังหวัดลำพูน ได้ขอให้พระมหาสุมนเถระอุปสมบทกุลบุตรเป็นภิกษุที่นั่นก่อน แล้วจึงอาราธนามาพักที่ วัดบุปผาราม (วัดสวนดอก) เชียงใหม่ เนื่องจากพระมหาสุมนเถระแตกฉานพระไตรปิฏก เคร่งครัดในพระธรรมวินัย มีศีลวัตรน่าเลื่อมใสยิ่งกว่าภิกษุอื่น พระองค์จึงแต่งตั้งให้เป็น มหาสามีบุพรัตนะ เป้นพระประธานสงฆ์ลังกาวงศ์ในลานนาไทยต่อไป ลัทธิลังกาวงศ์ซึ่งเคยเจริญรุ่งเรืองมาครั้งหนึ่งสมัยพระเจ้ามังรายมหาราช และได้เสื่อมทรามไปเกือบ 70 ปีนั้น ได้กลับเจริญรุ่งเรืองขึ้นอีกในสมัยพระเจ้ากือนาธรรมิกราช

หลังจากทรงจัดการนำพระมหาสุมนเถระชาวสุโขทัย เชื้อสายลังกาวงศ์มาเป็นหลักศาสนาในลานนาไทยแล้ว พระองค์ได้หันไปบูรณะถาวรวัตถุทางพระพุทธศาสนา ซึ่งบรรพบุรุษได้ทรงสร้างไว้โดยทั่วถึง อันใดควรซ่อมก็ซ่อมแซมให้ดีขึ้น อันใดความสร้างใหม่ก็ทรงสร้างด้วยช่างฝีมือชั้นเยี่ยม ถาวรวัตถุที่ทรงบูรณะสร้างไว้ การบูรณะวัดเวฬุกัฎฐาราม ซึ่งพระเจ้ามังรายทรงสร้างไว้ การบูรณะ วัดเวฬุกัฎฐาราม (วัดไผ่ 11 กอ) ทรงสร้างด้วยความระมัดระวังเป็นอย่างยิ่ง การพอกปูนซ่อมแซมใหม่ทับของเก่า (ถ้าท่านไปดูรอยแตกของพระเจดีย์วัดอุโมงค์สวนพุทธธรรมในขณะนี้ จะเห็นชัดเจนว่าเปลือกเจดีย์มี 2 ชั้น)ได้ทรงรักษาทรวดทรงเดิมไว้ทั้งหมด ส่วนรูปภาพสีน้ำที่เขียนไว้ในอุโมงค์เจดีย์ที่พระเจ้ากือนาทรงสร้างใหม่เหลือเกิน

เมื่อทรงบูรณะเจดีย์ใหม่เสร็จแล้ว พระองค์ได้ทรงสร้างอุโมงค์ขนาดใหญ่ ถัดจากฐานพระเจดีย์ด้านเหนือขึ้นหนึ่งอุโมงค์ อุโมงค์ที่ทรงสร้างขึ้นใหม่นี้ทั้งใหญ่และสวยงามมากมีทางเข้าออก 4 ช่อง แต่ละช่องเดินติดต่อกันได้ทั่วถึงข้างฝาผนังด้านในอุโมงค์เจาะช่องสำหรับจุดประทีปให้เกิดความสว่างเป็นระยะ สะดวกแก่พระเดินจงกรม และภาวนาอยู่ข้างใน เพดานอุโมงค์เขียนภาพต่างๆ ด้วยสีน้ำมันไว้ตลอดทั้ง 2 ช่อง ฝีมือที่เขียนดูจะเป็นช่างจีนผสมช่างไทยเมื่อสร้างอุโมงค์เสร็จและทำการฉลองแล้ว ได้ทรงขนานนามว่า วัดอุโมงค์ ชื่อวัดอุโมงค์จึงปรากฏมาตั้งแต่ครั้งนั้น

เหตุที่พระเจ้ากือนาธรรมิกราช ทรงสร้างอุโมงค์ใหญ่โตสวยงาม ละเอียดประณีตเป็นพิเศษ เกิดมาจากพระองค์ทรงศรัทธาเป็นพิเศษในพระมหาเถระชาวลานนา ผู้แตกฉานพระไตรปิฏก มีปฏิภาณโต้ตอบปัญหาอยู่เป็นเยี่ยมรูปหนึ่ง พระมหาเถระรูปนั้นมีชื่อว่าพระมหาเถระจันทร์ ตำนานพิสดารเกี่ยวกับพระมหาเถระรูปนี้กล่าวไว้ว่า ในรัชสมัยของพระเจ้ากือนานั้น มีพระเถระรูปหนึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญและมีความรู้แตกฉานในพระไตรปิฏก และมคธภาษา อย่างหาตัวจับยากในยุคนั้น พระเถระชาวล้านนารูปนี้ มีนามว่า พระมหาเถระจันทร์ ในตำนานกล่าวต่อไปว่าพระมหาเถระจันทร์นี้ แต่เดิมเป็นเด็กอยู่บ้านเมืองวัว เมื่ออายุได้ 16 ปี ก็ได้ไปขอบรรพชาเป็นสามเณรกับพระเถระวัดไผ่ 11 กอ ต่อมาได้ออกมาอยู่จำพรรษาที่ วัดโพธิ์น้อย ในเวียงเชียงใม่ 3 ปี จึงอุปสมบทเป็นพระภิกษุ และจำพรรษาอยู่ที่วัดโพธิ์น้อยอีก 3 พรรษา ในขณะนั้นครูบาเจ้าอาวาสวัดไผ่ 11 กอ ซึ่งเป็นพระอาจารย์ได้ล้มป่วย มีอาการหนัก พระภิกษุจันทร์ได้ไปเยี่ยมและเฝ้าพยาบาลอาจารย์ ท่านอาจารย์จึงได้มอบคัมภีร์ศาสตร์ประเภทชื่อ มหาโยคีมันตระประเภท ให้ และแนะนำให้เอาไปทำพิธีเล่าเรียนในที่สงัด บอกว่าเมื่อท่องบ่นมนต์นั้นจบแล้ว จะทำให้เป็นผู้มีสติปัญญา เฉลียว ฉลาด เฉียบแหลม สามารถเล่าเรียนและรอบรู้วิทยาการและพระธรรมได้โดยรวดเร็ว

เมื่อได้มอบคัมภีร์นั้นให้แก่ภิกษุจันทร์แล้ว ครูบาผู้เป็นอาจารย์ก็ถึงมรณภาพ หลังจากที่ได้จัดการฌาปนกิจศพพระอาจารย์แล้ว พระภิกษุจันทร์ก็ได้เที่ยวแสวงหาสถานที่ที่สงัด เพื่อจะทำพิธีศึกษาเวทมนตร์จากพระคัมภีร์ที่ท่านอาจารย์มอบให้ พระภิกษุจันทร์ได้ถามชาวบ้านและวานชาวบ้านให้ส่งไปยังสถานที่อันสงัดบนดอยสุเทพ ซึ่งชาวบ้านก็ได้ไปส่ง ณ ศาลาฤาษีสุเทพ ซึ่งอยู่ห่างจากวัดไผ่ 11 กอ ประมาณ 2,000 วา (4 ก.ม.) ครั้นถึงที่นั่นแล้ว พระภิกษุจันทร์ก็บอกชาวบ้านให้กลับ ส่วนตัวท่านเองก็เริ่มทำพิธีท่องมันตระประเภทให้ได้ครบพันคาบ สมจิตตสูตร ห้าร้อยคาบ มหาสมัยสูตรห้าร้อยคาบ ธรรมจักรสูตรห้าร้อยคาบ พอถึงราตรีที่สาม ท่านก็สวดมนต์มหาสมัยสูตรอีกห้าร้อยคาบ พอสวดถึงตอนที่ว่า เขมิยาตุสิตายามา ท่านก็มองเห็นแสงสว่างตรงมาข้างหน้าแสงนั้นเคลื่อนใกล้เข้ามาๆ จนแลเห็นชัด ปรากฏเป็นรูปคล้ายมนุษย์และสวยงามอย่างยิ่งมายืนอยู่ตรงหน้าท่านแล้วถามว่า

ท่านมาทำอะไร และปรารถนาอะไร ? พระภิกษุจันทร์ตอบว่า “เรามาทำศาสตรเภท เพื่ออยากได้สติปัญญาอันเฉียบแหลม เฉลียวฉลาด”

ผู้ประหลาดนั้นจึงถามอีกว่า ท่านจะอยู่ในพรหมจรรย์ตลอดชีวิตหรือ ? หรือว่ายังจะลาสิกขาไปเป็นฆราวาสเมื่อเรียนศาสตรเภทจบแล้ว

พระภิกษุจันทร์ตอบว่า “เราถวายชีวิตของเราแล้วเพื่อพระพุทธศาสนา” ผู้ประหลาดนั้นจึงพูดว่า “เราจะถวายของสิ่งหนึ่งให้แก่ท่าน ท่านจงยื่นมือมารับเอาเถอะ” แล้วก็ส่งของสิ่งหนึ่งให้ (ในตำนานกล่าวว่าสิ่งนั้นเป็นหมากเคี้ยวคือหมากที่ทำเป็นคำๆ) แก่พระภิกษุจันทร์ๆ แลเห็นแขนและมือที่ยื่นส่งของมานั้นสวยงามผุดผ่องและนิ่มนวลก็จับเอาทั้งมือทั้งหมากรูปประหลาดนั้น (เทวดาแปลง) ก็กล่าวเป็นคำคาถาว่า อสติกโรติ “ท่านจงหาสติมิได้เถิด” แล้วก็หายวับไปทันที แต่นั้นมาท่านภิกษุจันทร์ก๊กลายเป็นคนหลงๆ ลืมๆคล้ายกับคนเสียสติ เป็นไปด้วยเดชคำสาปของเทวดาแปลงนั้น เมื่อเห็นว่าถูกทำลายพิธี และตนเองก็กลายเป็นคนสติเผลอไผลไปเช่นนี้ พระภิกษุจันทร์ก็กลับลงมาจำพรรษาอยู่ ณ วัดโพธิ์น้อยตามเดิม (วัดนี้ไม่ทราบว่าอยู่แห่งใด) เวลามีสติสัมปชัญญะดี สามารถเรียนพระไตรปิฎกได้แม่นยำรวดเร็วมาก เรียนพระวินัยจบในเวลา 1 เดือน เรียนพระสูตรจบในเวลา 1 เดือน เรียนพระอภิธรรมจบภายในเวลา 1 เดือนกับ 15 วัน เมื่อเวลาสติท่านไม่สู้จะปรกติท่านจะเที่ยวจาริกไปในที่สงบสงัด เพื่อบำเพ็ญภาวนาตามลำพัง

ในสมัยนั้น มีพระเถระผู้ทรงคุณวุฒิและรอบรู้ในพระไตรปิฎกอยู่ 6 องค์ด้วยกันคือ พระธัมมะเทโวเถระ พระติกขปัญโญเถระ สององค์นี้จำพรรษาอยู่ ณ วัดสวนดอก พระอาเมทะเถระ พระจักปัญโญคุฑะเถระ เป็นพระเถระชาวพุกาม จำพรรษาอยู่ ณ วัดเสขาน (ไม่ทราบว่าอยู่แห่งใด) พระพุทธติสโสริยะเถระ พระโสมาติสโสริยะเถระ สององค์นี้เป็นพระชาวใต้ (ไทยกลาง) จำพรรษาอยู่ ณ วัดปุยันโต (ไม่ทราบว่าอยู่แห่งใด) พระเถระทั้ง 6 รูปนี้ แม้จะรอบรู้ในพระไตรปิฎกก็จริง แต่ก็สู้ท่านมหาจันทร์ไม่ได้

ในครั้งนั้นมักจะมีพระเถระจากต่างเมืองมาถามปัญหาธรรมอยู่เสมอ และทุกครั้งที่มีการถกเถียงปัญหาธรรมที่ลึกซึ้ง ก็ต้องอาศัยพระเถระจันทร์เป็นผู้เฉลยปัญหานั้นให้ด้วยความเชี่ยวชาญ และรอบรู้ของท่านมหาเถระจัทร์นี้เองทำให้พระเจ้ากือนาธรรมิกราชทรงโปรดปรานเป็นอันมาก แต่พระมหาเถระจันทร์ชอบจาริกอยู่ตามป่าดง เพื่อหาที่สงบสงัดบำเพ็ญภาวนาอยู่เป็นนิจ ไม่มีที่อยู่ที่แน่นอน เวลาต้องการตัวโต้ตอบปัญหาหรือศึกษาข้อธรรม มักจะตามไม่ค่อยพบ หรือพบได้ยากมาก พระเจ้ากือนาธรรมิกราชประสงค์จะให้พระมหาจันทร์อยู่เป็นที่ สะดวกต่อการติดต่อและพบปะง่าย จึงโปรดให้สรางอุโมงค์ใหญ่ขึ้นที่ด้านเหนือฐานพระเจดีย์ใหญ่ในวัดเวฬุกัฏฐาราม สร้างเสร็จแล้วให้เป็นที่อยู่ของพระมหาจันทร์ มหาชนทั้งหลายจึงเรียกกันว่า “วัดอุโมงค์เถรจันทร์” ตั้งแต่บัดนั้นมาถึงทุกวันนี้ พระมหาจันทร์อยู่จำพรรษาเจริญศรัทธาพระมหากษัตริย์ บรมวงศานุวงศ์ และประชาชน อยู่ที่วัดอุโมงค์หลายสิบปี ในที่สุดก็มรณะภาพลงด้วยอายุได้ประมาณ 77 ปีนอกจากทรงส่งเสริมการศึกษาพุทธศาสนา

ประกาศ/โฆษณาอื่นๆ ของสมาชิกท่านนี้